วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Lab 3 การวิเคราะห์ข้อมูล


ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ในโฟลเดอร์RTArcGIS

ตั้งชื่อว่าProject

จากนั้นให้เปิดข้อมูลจากLab 11 คัดลอกชั้นข้อมูลChaopaya

นำมาวางไว้ที่โฟลเดอร์ที่ได้สร้างไว้เมื่อสักครู่

จากนั้นลากข้อมูลChaopaya ที่อยู่ในโฟลเดอร์Projectเข้าไปในDisplay Area

หากเช่นนี้แสดงว่าชั้นข้อมูลของเรานั้น ไม่มีค่าระบบพิกัดให้คลิกOK

การจัดการมาตราส่วนแผนที่

ให้ดูหน่วยของพิกัด ที่Status Bar ด้านล่างมุมขวา ชั้นข้อมูลที่ไม่มีระบบพิกัดจะขึ้นว่าUnknown Unit

จากนั้นไปที่คลิกที่คาว่าView บนแถบMenu bar เลือกData Frame Properties

จะมีหน้าต่างData Frame Propertiesขึ้นมา ดูที่ข้อมมูลหน่วยของแผนที่ ช่องMap ให้เลือกเป็นMeters และDegreeเปลี่ยนเป็นMeters เช่นกัน แล้วคลิกOK

เมื่อตั้งค่าหน่วยเรียบร้อยแล้วจะขึ้นเป็นMetersตามที่ได้ตั้งไว้

มาตราส่วนของแผนที่ สามารถดูได้จากช่องด้านบนให้แถบTool bar


หากต้องการตั้งค่ามาตราส่วนมาตรฐาน ให้คลิกที่คาว่า Customize The List…

จะขึ้นหน้าต่างScale Setting ให้คลิกแถบStandard Scales เราสามารถเพิ่ม Standard Scales ได้โดยไปพิมที่ช่องว่างด้านบนแล้วคลิกAdd

หากต้องการจะลบให้คลิกไฮไลท์ที่มาตราส่วน แล้วคลิกDelete

การกำหนดและการแปลงระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และการแปลงพื้นหลักฐาน

การกำหนดระบบพิกัดภูมิศาสตร์ กรณีนี้ใช้กับข้อมูลที่ยังไม่มีระบบพิกัด เริ่มให้ดูระบบพิกัด โดยคลิกที่ชั้นข้อมูล เลือกProperties

จะขึ้นหน้าProperties คลิกคาว่า Source ดูที่คาว่าCoordinate Systemหากข้อมูลไม่มีระบพิกกัดจะขึ้นคำว่า<Undefined>

จากนั้นนาคาสั่งที่จะใช้ในการกาหนดพิกัด โดยไปที่ArcToolbox>>Data Manegement Tools
>>Projection and Transformation ดับเบิ้ลคลิก Define Projection

จะได้หน้าต่าง Define Projection ขึ้นมา ช่อง Input Dataset or Feature Class ให้เลือกข้อมูลที่ต้องการจะกeหนดพิกัด ก็เลือกเป็น Chaopaya

ช่องCoordinate Systemจะขึ้น Unknown ให้คลิกที่รูปมือด้านขวาเพื่อกำหนดระบบพิกัด

คลิกSelect

เลือกค่าระบบพิกัดให้เป็นWGS 1984 UTM Zone 47N โดยที่Projected Coordinate Systems >> UTM>>WGS 1984>>Northern Hemisphere>> WGS 1984 UTM Zone 47N คลิก Add และคลิกOK

เมื่อกำหนดค่าพิกัดเสร็จที่ช่อง Coordinate Systemจะขึ้น WGS 1984 UTM Zone 47N จากนั้นคลิก OK

จากนั้นให้ตรวจสอบให้ตรวจสอบว่าระบบพิกัดนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง โดยเข้าวิธีที่บอกไปเมื่อสักครู่
หากเรียบร้อยแล้วที่Projection Coordinate Systemจะขึ้น WGS 1984 UTM Zone 47N

การแปลงระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ให้ลบชั้นข้อมูลChaopaya และเปิดข้อมูลNew Map ขึ้นมาใหม่ โดยคลิกที่รูปกระดาษเปล่าที่ชื่อNew Map File

เมื่อได้หน้าโปรแกรมใหม่แล้ว ให้ไปที่ Catalog นาข้อมูลจาก Lab11>>World>>Country ลากไปที่ Display Area

จากนั้นตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นเป็นระบบพิกัดแบบไหน>>>ชั้นข้อมูลเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ GCS_WGS_1984

จากนั้นเปิดคำสั่งที่จะใช้ในการแปลงระบบพิกัด โดยไปที่ArcToolbox>>Data Manegement Tools
>>Projection and Transformation>> Feature ดับเบิ้ลคลิก Project

จะมีหน้าต่างProjectขึ้นมา ช่อง Input Dataset or Feature Class ข้อมูลที่ต้องการแปลระบบพิกัด คือ Country และช่อง Input Coordinate System จะแสดงค่าระบบพิกัดเดิมของข้อมูล

ช่อง Output Dataset or Feature Class ให้คลิกแฟ้ม แล้วบันทึกข้อมูลที่โฟลเดอร์Project ที่ได้สร้างไว้ ตั้งชื่อว่าCountry_UTM แล้วคลิกSave

ช่อง Output Coordinate System ให้คลิกที่รูปมือ เพื่อเลือกระบบพิกัดที่ต้องการเปลี่ยน คือWGS 1984 UTM Zone 47N คลิก Select คลิกProjected Coordinate Systems>>UTM>>WGS 1984>>Northern Hemisphere>>WGS 1984 UTM Zone 47N คลิก Add และคลิกOK

ก็จะปรากฏข้อมูลดังภาพ

การแปลงพื้นหลักฐาน โดยพื้นหลักฐานของประเทศไทยจะมีอยู่ 2 แบบคือIndian 1975 (อันเก่า)
และ WGS 1984 (นิยมใช้และปัจจุบัน)
ให้ลบข้อมูลCountry ทั้ง2ตัวออก และไปที่Lab11 แล้วลากข้อมูลProvince มาไว้ในDidplay Area

จะปรากฏข้อมูลดังภาพ และไปที่Lab11 แล้วลากข้อมูลBangkokมาไว้ในDisplay Area

จะปรากฏหน้าต่างขึ้น เนื่องจากพื้นหลักฐานของข้อมูลทั้งสองต่างกัน ให้คลิกClose

จากนั้นคลิกขวาที่ชั้นข้อมูลBangkok แล้วคลิกZoom To Layer

ก็ปรากฏขึ้นดังภาพ จะเห็นได้ว่าข้อมูลทั้งสองเหลื่อมกันอยู่ เพราะพื้นหลักฐานของข้อมูลทั้งสองต่างกัน

เริ่มแปลงพื้นหลักฐานจาก Indian 1975 เป็น WGS 1984 โดยไปที่เมนู View คลิกData frame Properties

จะปรากฏหน้าต่างให้คลิกที่คาว่าCoordinate System ที่ Select a Coordinate System คลิกที่ต้องการจะแปลง โดยคลิกที่Layer>>Province…>>WSG_1984_Zone_47N แล้วคลิกTransformation

จะมีหน้าต่างGeographic Coordinate System Transformation ที่ช่องConvert From (เปลี่ยนจาก)ให้คลิกที่Indian 1975 และช่องInto(ให้เป็น)เลือกเป็นWSG 1984 เมื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิกNew

จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ให้ตรวจสอบความรียบร้อย และใส่ค่าคงที่ในช่องX,Y,Z คื260,831,295ตามลำดับ แล้วคลิกOK , OK และ OK

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลทั้งสองซ้อนทับกันได้พอดี

ข้อมูลBangkok ที่ได้แปลงไปสักครู่นั้นเป็นการแปลงแบบชั่วคราว หากเปิดข้อมูลมาครั้งหน้า ข้อมูลก็จะยังเหลื่อมกันอยู่ หากต้องการเก็บข้อมูลไว้ให้คลิกขวาที่ข้อมมูลBangkok คลิกData >>Export Data และทำการจัดเก็บ

การทำ Append

เป็นรูปแบบของการรวมข้อมูลอีกหนึ่งรูปแบบ แต่การรวมข้อมูลของAppend ไฟล์ฉบับจะหายไปควรสารองไฟล์ฉบับไว้
ก่อนอื่นให้ลบข้อมูลBangkok และprovince ออก แล้วไปที่Lab12 Data จากนั้นคัดลอกLU5038i และ LU5138iv

นำวางไว้ในโหลเดอร์Project

ให้เปิดข้อมูลที่ได้คัดลอกไว้ในโฟลเดอร์Project ออกมา

จากนั้นเปิดคำสั่งAppend ไปที่ArcToolbox>>Data Managmene Tool>>gerneral>>Append

ช่อง Input DatasetsgเลือกLU5183iv ช่อง Target Dataset เลือก LU5084i และช่อง Schema Type มีให้เลือก 2 แบบคือTEST จะต้องมีโครงสร้างที่เหมือนกัน จึงจะสามารถรวมกันได้ และNO – TEST ไม่จาเป็นต้องมีโครงสร้างที่เหมือนกัน ก็สามารถรวมกันได้
ตัวอย่างแรกให้เลือก TEST แล้วคลิก OK

เมื่อรอสักครู่ ข้อมูลขึ้นผิดพลาด เนื่องจากข้อมูลทั้งสองมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน คลิก Close

ตัวอย่างที่สองให้เปลี่ยนเป็นNO-TEST แล้วคลิก OK

ผลปรากฏข้อมมูลทั้งสองสามารถรวมกันได้

 การทำ Erase เป็นการตัดข้อมูล

ก่อนอื่นลบข้อมูลLU5083iและLU5183iv ออก และไปที่Lab128เลือกที่File Geodatabase ที่ชื่อว่าPathumThani แล้วเปิดFeature Class ที่ชื่อ SOILS และWATER

จะได้ข้อมูลขึ้นมาดังภาพ เราต้องการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะในปลูกพืชแต่ในพื้นที่มีแหล่งน้ำอยู่ด้วยและพื้นที่แหล่งน้ำก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพราะปลูกได้ เราจึงต้องตัดข้อมูลบริเวณแห่ลงน้ำออกเพราะ พื้นที่จะนัดข้อมูลแหล่งน้ำไปวิเคราะห์ด้วย หลังจากตัดแล้วข้อมูลที่ถูกตัดจะหายไป โดยมีรูปร่างเมหือนแหล่งน้ำ
เปิดคำสั่งEraseขึ้นมา ไปที่ArcToolbox>>Analysis Tools>>overlay>>Erase

จะมีหน้าต่างEraseขึ้นมา ช่อง Input เลือก SOILS ช่องErase เลือก WATER ช่อง Output คลิกที่แฟ้มแล้วจัดเก็บไว้ที่โฟลเดรอ์Project ตั้งชื่อว่าErase แล้วคลิกSave แล้วคลิก OK

จะมีหน้าต่างEraseขึ้นมา ช่อง Input เลือก SOILS ช่องErase เลือก WATER ช่อง Output คลิกที่แฟ้มแล้วจัดเก็บไว้ที่โฟลเดรอ์Project ตั้งชื่อว่าErase แล้วคลิกSave แล้วคลิก OK

การจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ (Reclassify) เป็นการจัดกลุ่มข้อมูลกริดหรือข้อมูลราสเตอร์

ก่อนอื่นลบข้อมูลเก่าออก แล้วไปที่โฟลเดอร์Prachinburi แล้วเปิดข้อมมูลที่ชื่อว่าPrachindem30m

จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ปรากฏจะออกมาตามค่าความสูง จากนี้จะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูลขึ้นใหม่ตามที่ต้องการ

เปิดคำสั่งReclassify ออกมา ไปที่ArcToolbox >>Raster Reclass>>Reclassify

หรือไปที่ArcToolbox>>Spatial Anlysis Tools>> Recalss >>Reclassify

จะมีหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา ช่อง Input rasterเลือก Prachindem30m ช่อง Reclass field เลือก Value แล้วคลิก Classify…

จะขึ้นหน้าต่างClassification ที่ Classification Method คือ รูปแบบวิธีการจัดกลุ่มซึ่งมี 7 วิธี ดังนี้คือ 1.)Manual เป็นการแบ่งกลุ่มตามที่ต้องการ เราสามารถแบ่งคลาสแต่ละคลาสได้เอง วิธีการดังนี้
1.ที่ช่อง Classification Method ให้เลือกวิธีการอื่นก่อน  
2.ช่อง Classes ให้เลือกจำนวนกลุ่มที่ต้องการ  เช่นต้องการ 3 กลุ่ม คลิกเลือกที่เลข 3

3.ที่ช่อง Classification Method ให้เลือกวิธีใหม่เป็นManual
4.กำหนดค่าความสูงของแต่ละช่วง ที่ช่อง Break Value เช่น ช่วงที่1ต้องการ 500 เมตร พิมพ์ค่าลงไปได้เลย ช่วงที่2ต้องการ 1000 ก็พิมพ์1000ลงไป

จะเห็นว่ามีการแบ่งช่วงตามที่ได้กำหนดไว้

2.)Equal Interval วิธีการนี้ทางโปรแกรมจะเป็นตัวแบ่งให้เราโดยอัตโนมัติ โดยที่เรากำหนดคลาสเอง
โดยแต่ละค่าจะมีค่าที่เท่ากันทั้งหมด วิธีการดังนี้
1.ช่อง Classification Method ให้เลือกวิธีเป็น Equal Interval
2.ช่อง Classes ให้เลือกจำวนกลุ่มที่ต้องการ เช่นต้องการ 5 กลุ่ม คลิกเลือกที่เลข 5

จะเห็นว่ามีการแบ่งแต่ละช่วงจะเท่า ๆกัน ทั้งหมด

3.)Defined Interval วิธีให้ใส่ค่าความกว้างของตัวอันตรภาคชั้นที่ช่อง Interval Size แล้วโปรแกรมจะกาหนดคลาสมาให้พอดีโดยอัตโมมัติ

4.) Quantile จะใช้แบ่งแบบค่าสถิติคลอไทล์ เราแค่กำหนดจำนวนคลาส

5.)Natural Break (Jecks) เพียงแค่กำหนดจำนวน โปรแกรมจะแบ่งกลุ่มให้อัตโนมัติ ซึ่งอ้างอิงมาจากความสูงจริง

6.)Geographic Interval เป็นเช่นเดียวกับ Natural Break (Jecks)

7.) Standrad Devaition วิธีนี้ให้เลือกค่า Standrad ที่ช่อง Interval Size แล้วโปรแกรมจะกำหนดคลาสมาให้พอดีโดยอัตโมมัติ

เมื่อเลือกวิธีการจัดกลุ่มได้แล้วคลิก OK จากนั้นคลิกที่แฟ้ม ตั้งชื่อ แล้วคลิกSave และคลิก OK

ก็จะปรากฏค่าNew Value ขึ้นมา ดังภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ.. ผมทำงานวิจัยเรื่องคล้ายกันที่ทำ
    ผมมีคำถามครับ ทำไม่ถึงเลือกใช้การแบ่งกลุ่มแบบ manual และ การจัดแบ่งลุ่มน้ำเสี่ยง 5 ระดับ มีเหตุผลยังไง

    ตอบลบ